top of page

Visa เรื่องนี้ที่คุณควรอ่าน..เคสยาก

Visa เคสนี้โคตรยาก เรียนไม่จบ อายุมาก เงินน้อย ..เรียนออสเตรเลีย..ทำยังไงถึงผ่าาาาน...เอามาเล่าสู่กันฟัง

//


กระแสได้รับวีซ่านักเรียนออสเตรเลียกำลัง Hot มาก ยินดีด้วยสำหรับนักเรียนใหม่ในออสเตรเลีย ..และขอให้คนที่รออยู่สมหวังทุกคน เรื่องวีซ่า...ปัญหาของคนที่จะไปนอกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะไป ออสฯ เมกา แคนาดา หรือที่อื่นๆ ทุกคนก็ต้องวางแผนเรื่องนี้ให้ดี

ในส่วนของเอเจนท์ ...อยากบอกว่าที่ถาม ที่ซักจนเหมือนพนักงานสอบสวนเข้าไปทุกวันก็เพราะอยากได้เนื้อหาที่มาทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ บางทีนะ ..ดิฉันสอบถามนักเรียนจน ติ่ง สุดท้าย โชคดีที่เรียนนิติศาสตร์มา ..วิชาพยานและหลักฐานนี่ก็ได้คะแนนดีไม่น้อย เรื่องนี้มันทำให้ดิฉัน go to the point ได้อย่างเข้า win คุณๆ คงเคยได้ยินคำว่า คนเรียนกฎหมายสามารถเขียนสีดำให้เป็นสีเทาได้ ..ม้นไม่ขาวนะ แต่มันเทาจางๆ.. ลางๆ มองแล้วไม่ดำทะมึน นี่คือความสามารถเฉพาะตัวของบุคคลคนนั้น น้องๆที่ให้ PLAN Study Agency ทำเรื่องนี้ถ้าโดนพี่ๆเขาถามมากก็อย่ารำคาญ ..พี่ได้ถ่ายทอดพลังลมปราณเรื่องการสอบสวนไปแล้ว


เคสของน้องเอ -อายุ 28 โสด

-จบ ม. 6 ไม่จบปริญญาตรี ดร็อปไว้เพราะเกิดอุบัติเหตุรุนแรงรักษาตัวหนึ่งปี หลังจากดร็อบเรียนก็ไม่เข้าเรียนต่อเพราะต้องพักฟื้นหนึ่งปี หลังจากนั้นก็ไม่เข้าเรียนต่อเนื่อง ทางบ้านมีปัญหาการเงินต้องทำงาน คุณพ่อเสียชีวิต ดร็อปเรียนยาวจนต้องลาออก จากมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังใน กทม.

-ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ออสฯ สมัครเรียนที่ TAFE แห่งหนึ่งใน Queensland เมืองบริสเบน ที่เแรกดิฉันก็ งง อยู่ ทำไมน้องไปเมืองนี้เพราะว่าส่วนใหญ่เด็กจะอยากไป Sydney ทำ placement test คือการทดสอบผลภาษาอังกฤษของสถาบันน้้น ได้รับใบตอบรับ รวมระยะเวลาการเรียนรวมสองปีครึ่ง กว่าจะได้ใบตอบรับมานี่ก็แทบคลาน ยังไม่ต้องไปถึงงานวีซ่าค่ะ


ปัญหา: -อายุมาก แต่ไม่สำคัญเท่าไหร่ สำคัญที่ว่าเรียนยังไม่จบนี่ต้องอธิบายกันยาว -เรื่องการเงินไม่ค่อยพร้อม จัดอยู่ในกลุ่ม C ครอบครัวคือคุณแม่รับราชการคนเดียวรายได้ไม่เพียงพอ พี่ชายเพิ่งทำงานใหม่ เหลือแต่คุณป้าทำร้านขายของที่อำเภอแต่มีบัญชีกระแสรายวัน และเงินออมจำนวนไม่มาก เวลาเราจัดเคสเด็กในการสมัครวีซ่า เราจะจำแนกกลุ่ม A B C คุณน่าจะมองภาพออกว่าการทำงานมันจะยาก ง่าย ขนาดไหน บางคนเงินเยอะก็กลุ่ม C ค่ะพี่น้องเพราะเขามี personal issue คือกรณีส่วนตัวเยอะสิ่ง


//เคยเขียนไปแล้วนะว่า บัญชีกระแสรายวัน immi ไม่ปลื้มต้องมีออมทรัพย์แนบด้วย //

เคสนี้เราสมัคร Visa Subclass 572 สำหรับไปเรียน Diploma เมื่อก่อนนะวีซ่าจะแยกออกจากกัน คนไปเรียน Dip และไปเรียน Higher Education ก็แยกออกจากกัน ส่วนตอนนี้ก็ Subclass 500 ไปเลยค่าอันเดียว ดังนั้นเรื่องนี้มันนานแล้วนะคุณ ...แต่ต้องเล่าเพราะมันยาก และคนที่กำลังมองหาคนที่จะแก้ไขเรื่องตัวเองอยู่คงพอได้ข้อมูล ส่วนคนที่คิดว่าเคสตัวเองง่ายก็ไม่ต้องกังวลใจ คนที่ทำเรื่องยากขนาดนี้ได้ เรื่องง่ายก็ไม่ต้องพูดถึง ..อวยตัวเอง

PLAN Study Agency รับทำเคสนี้...เพราะเรารับหมดล่ะถ้าให้เราทำ น้องมาสารภาพทีหลัง..ทำไมให้เราทำคะ พี่ถาม น้องบอกอย่างสดใสหลังจากได้รับวีซ่าว่า "หนูไปมาหมดทุกที่แล้วค่ะ เขาไม่รับทำ พี่รับทำหนูเลยเลือกพี่" ผ่างงงงงง นี่ล่ะศีลเสมอแล้วต้องเจอกันแน่นวลลลลล

เมื่อ Counselor ส่งเรื่องไปให้ Visa Section ก็ได้รับ E-mail ว่า...แต่ละเรื่องที่ส่งมานี่มันช่างท้าทายจริงนะคะ สั้นๆ รู้เรื่อง ทำไป ...เราแยกกันทำงานนะ คนทำเรื่องคอนซัลก็ทำ คนทำวีซ่าก็ทำ ..เหมือนลิ้นกับฟันต้องประสานกันให้ดี

เราส่งอะไรไปให้ immigration บ้าง ..บอกแบบไม่หมกเม็ด


- GTE เขียนได้ เรอเริ่ด ประเสริฐแท้แม่คุณเอ๋ยยยยยย

-เอกสารการเรียนทุกอย่าง ถึงดร็อปแล้วก็เอามาส่ง

- เรซู่เม่และเอกสารใบผ่านงานทุกชิ้น อันนี้ต้องยกความดีให้น้องนะเพราะว่าน้องวุฒิ ม. 6 แต่ทำงานต่อเนื่องไม่ขาดตอน

-ประวัติการรักษาจากโรงพยาบาล รายงานแพทย์ทุกชิ้น หนักหนามากสำหรับเรื่องนี้ คือเอกสารปึ้งใหญ่มากคะคุณ สแกนทุกหน้า ส่งทุกชิ้น เรื่องการเงิน

-การตายของคุณพ่อ ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยน แม่ทำงานคนเดียวไม่พอที่จะส่งเสียได้แต่ก็อยากส่งเสริมเท่าที่มี ยื่นทุกสิ่ง คุณป้าเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะทำการอุปการะเป็นหลัก คุณป้าก็ได้ใจเรามากขอเอกสารการเงินย้อนหลังกีเดือนให้หมด หนังสือรับรองจากธนาคารกี่ธนาคารได้หมด เงินบัญชีกระแสรายวันเราต้องวางแผนให้คุณป้า debit credit เข้า ออก แบบไหน..จนวันที่เราตัดสินใจยื่น

และน้องก็ได้โอกาสนั้นค่ะ


เคสนี้เราทำงานอยู่สี่เดือนนะ...ไม่นานหรอก ได้คอมมิชชั่นกี่บาท..ไม่สำคัญเท่ากับเราได้ประสบการณ์


เราทำให้เรื่องยากของคุณ..เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะเรื่องง่ายไม่เคยสร้างตำนานให้ใคร

ออสเตรเลียเราเชี่ยวชาญ www.planstudyagency.com ขอบคุณเจ้าของเรื่องที่อนุญาตให้เขียนเรื่องราวค่ะ ..

ดู 170 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


โพสต์: Blog2_Post
bottom of page